นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน

นโยบายและกรอบกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้าน “ความยั่งยืน”
01.
สร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมการพัฒนา
สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน ให้ทุกภาคส่วนสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการทำงานและการขับเคลื่อนธุรกิจตามกรอบนโยบายโดยคำนึงผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
02.
ดำเนินกิจการอย่างมีธรรมาภิบาล
ยึดมั่นในการดำเนินกิจการอย่างมีธรรมมาภิบาล ตลอดจนการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการ กำหนดเป็นจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานของพนักงาน ผู้บริหาร และคณะกรรมการที่ยึดถือกันอย่างเข้มงวด
03.
มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุม
กำหนดให้มีการจัดการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรให้ครอบคลุมทุกมิติทั้งในเชิงนโยบาย กระบวนการดำเนินงาน และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ทำแผนป้องกัน ควบคุม และเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงนั้นๆ อย่างทันท่วงที
04.
บริหารจัดการ ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า
จัดให้มีระบบและกระบวนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้าใจและตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบในเชิงลบ และสร้างสรรค์ผลกระทบเชิงบวกได้อย่างมีคุณค่าตลอดห่วงโซ่ของกิจการ
05.
ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ มีการจัดการปัญหาอย่างมีระบบ กำหนดกลยุทธ์ในการป้องกัน การปฏิบัติงาน มาตรการเยียวยา และแนวทางการป้องกันการเกิดซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัท
06.
พัฒนาการจัดการทรัพยากรบุคคล
สนับสนุนให้มีการจัดการทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันเพื่อให้เกิดคุณค่าต่อกิจการ ทั้งในเชิงการรักษา การค้นหา และการพัฒนา รวมถึงการดูแลสวัสดิการความปลอดภัยและอาชีวิอนามัยในการทำงาน
07.
ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ส่งเสริมให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่แสวงหาผลกำไร ปลูกจิตสำนึก สร้างความ รับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจที่เกื้อกูลกับสังคมรอบข้าง ก่อให้เกิดสังคมที่เป็นสุข
08.
บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
บริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานของกิจการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กรภูมิภาคและระดับโลก สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนและตั้งเป้าการเป็นองค์กร Net Zero รวมถึงผลักดันให้เห็นความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้ำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ขององค์กร
09.
พัฒนาผลการดำเนินงานด้าน ESG สู่ระดับสากล
พัฒนาผลการดำเนินงานด้าน ESG สู่ระดับสากล เพื่อรองรับการลงทุนและการแข่งขันในระดับโลก รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากสถาบันต่าง ๆ ของบริษัทจดทะเบียน
แผนพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน

เพื่อให้บริษัทฯ มีการเติบโตควบคู่ไปกับสังคมและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการบริษัทจึงกำหนดแผนพัฒนาธุรกิจในปี พ.ศ. 2560 - 2575 ไว้ดังนี้

2560 - 2565
วางรากฐานความยั่งยืน
  • กำหนดทิศทางนโยบาย กลยุทธ์ แนวปฏิบัติ
  • จัดทำเป็นคู่มือให้ทุกฝ่ายในองค์กรปฏิบัต
  • จัดตั้งโครงสร้างการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
  • เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร
2566 - 2570
ขับเคลื่อนความยั่งยืน
  • ตอบสนองประเด็นด้านความยั่งยืน
  • พัฒนาการบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ส่งเสริมให้พนักงานทำงานเต็มศักยภาพ
  • ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ลดผลกระทบทางลบ
  • ต่อยอดนวัตกรรม
2571 - 2575
ต่อยอดความยั่งยืน
  • รักษามาตรฐานการดำเนินงาน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  • บูรณาการธุรกิจกับความยั่งยืน
2575
มุ่งสู่องค์กรยั่งยืน
  • มุ่งสู่องค์กรยั่งยืนอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • สร้างคุณค่าเพิ่มร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสีย
  • นำคุณภาพชีวิตที่ดีคืนสู่สังคม

ความยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals)

ในปี พ.ศ. 2562 คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ร่วมกับคณะผู้บริหารและคณะทำงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ ได้ร่วมกันประเมินรวบรวม และจัดลำดับประเด็นที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ใหม่ด้วยการพิจาณาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ทุกฝ่าย อาทิ ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ลูกค้า บุคลากร คู่แข่ง คู่ค้า ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่อุตสาหกรรมและ หน่วยงานกำกับให้ความสำคัญ รวมถึงประเด็นที่นำไปสู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals - SDGs) และนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญหาแนวทาง หรือกลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ อย่างเหมาะสม

ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจสูง
1.
ความเข้าใจการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนของบุคลากรในองค์กร
2.
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
3.
การบริหารจัดการความเสี่ยง
4.
การตอบสนองความคาดหวังผู้มีส่วนได้เสีย
5.
การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
6.
การจัดการทรัพยากรบุคลล
7.
ส่งเสริมโครงการเพื่อสังคม (CSR)
8.
มลพิษอากาศ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
9.
พัฒนาผลการดำเนินงานด้าน ESG สู่ระดับสากล
12.
จัดหาแหล่งเงินทุน
ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจปานกลาง
10.
ความพึงพอใจของพนักงาน
11.
ความพึงพอใจของลูกค้า
15.
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
16.
การเปิดเผยข้อมูล
17.
สิทธิมนุษยชน
18.
อาชีวอนามัย
ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจต่ำ
13.
การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
14.
การฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน
ประเด็นด้านความยั่งยืน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

ผลกระทบ :

การดำเนินงานภายในองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

กระบวนการกำกับดูแลกิจการ

ผลกระทบ :

ความสามารถในการแข่งขัน และการปรับตัว ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

ผู้มีส่วนได้เสีย :

ลูกค้า/พนักงาน/ ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/ เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทาง ธุรกิจ/ชุมชนและสังคม/ หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

ผลกระทบ :

ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมาย รวมถึงลดอุปสรรคในการทำงาน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

ลูกค้า/พนักงาน/ ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/ เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทางธุรกิจ/ชุมชนและสังคม/ หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย

ผลกระทบ :

สามารถกำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

ทราบถึงผลกระทบที่บริษัทมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/ นักลงทุน/เจ้าหนี้/คู่ค้า/ หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

ผลกระทบ :

ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การบริหารทรัพยากรบุคคล

ผลกระทบ :

สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้มีส่วนได้เสีย :

ลูกค้า/พนักงาน/ ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/ เจ้าหนี้/คู่ค้า/คู่แข่งทางธุรกิจ/ชุมชนและสังคม/ หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การดำเนินงานด้านสังคม

ผลกระทบ :

สร้างคุณค่าร่วมกันกับสังคม

ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

สังคมและชุมชน

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

มิติสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบ :

ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/ นักลงทุน/คู่ค้า

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

นโยบายและกรอบกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

ผลกระทบ :

พัฒนากระบวนการดำเนินงานสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

ความพึงพอใจของพนักงานใน MTC

ผลกระทบ :

ปรับปรุงค่าตอบแทนสวัสดิการ รวมถึงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของพนักงานได้อย่างเหมาะสม

ผู้มีส่วนได้เสีย :

ลูกค้า

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

ความพึงพอใจของลูกค้าใน MTC

ผลกระทบ :

ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น/ นักลงทุน/เจ้าหนี้/ หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย

ผลกระทบ :

ลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ/คู่ค้า/ ชุมชนและสังคม

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลกระทบ :

ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การอบรมและพัฒนาบุคลากร

ผลกระทบ :

ยกระดับศักยภาพการ แข่งขันทางธุรกิจ

เพิ่มศักยภาพบุคลากร ภายในองค์กร

ผู้มีส่วนได้เสีย :

ลูกค้า/พนักงาน/ ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/คู่แข่งทางธุรกิจ/หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบ :

ขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่การเติบโต รวมถึงสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

ลูกค้า/พนักงาน/ ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/คู่แข่งทางธุรกิจ/หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

ผลกระทบ :

ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน

ผู้มีส่วนได้เสีย :

ลูกค้า/พนักงาน/ ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/คู่แข่งทางธุรกิจ/หน่วยงานกำกับ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กร

ผลกระทบ :

ลดการเกิดประเด็นความขัดแย้งซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเนื่องมายังการทำธุรกิจได้

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน/ผู้บริหาร/ คณะกรรมการ

เนื้อหาภายในเล่มรายงาน :

การส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

ผลกระทบ :

เกิดความปลอดภัยในการทำงานตลอดกระบวนการดำเนินงาน

โครงสร้างคณะกรรมการความปลอดภัยสารสนเทศ