การจัดการความเสี่ยง
ในด้านของการบริหารจัดการความเสี่ยง บริษัทฯ ได้จัดการให้มีโครงการบริหารความเสี่ยงให้เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล ซึ่งมีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง ตลอดถึงหน่วยงานบริหารความเสี่ยงที่ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันคือฝ่ายบริหารจัดการความเสี่ยงและกฎหมาย ซึ่งรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงโดยมีความเป็นอิสระ และผู้บริหารแบบ Dual reporting เป็นประจำ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง นอกจากฝ่ายบริหารจัดการความเสี่ยงและกฎหมายแล้ว บริษัทฯ ยังมีฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระ รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ 3 ท่าน และผู้บริหารแบบ Dual reporting นอกจากนั้น บริษัทฯ กำลังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งฝ่ายกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้การจัดการความเสี่ยง เป็นไปอย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Audit) จากบริษัทตรวจสอบภายนอก เพื่อรับรอง วิเคราะห์ และหาช่องว่างของระบบในการนำไปปรุงปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการควบคุมภายใน อีกทั้งบริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลขึ้น เพื่อดูแล จัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะทำงานการจัดการความเสี่ยง นำเสนอปัจจัยความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแก่คณะกรรมการจัดการความเสี่ยง โดยเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อหาแนวปฏิบัติในการจำกัด หรือลดความเสี่ยงพร้อมกันนี้บริษัทฯ ยังได้เปิดเผยความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตพร้อมกระบวนการจัดการความเสี่ยง ในรายงาน 56-1 รายงานประจำปี 2563 และรายงานความยั่งยืนปี 2563 ดังนี้
ความเสี่ยงอุบัติใหม่ (Emerging Risk) | กระบวนการบริหารความเสี่ยง |
---|---|
ความเสี่ยงจากโรคระบาด นับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการล็อกดาวน์ก็ตามมา ผู้คนเริ่มหันมาใช้ New Normal ซึ่งสนับสนุนให้เว้นระยะห่างทางสังคม กิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงธุรกรรมทางธุรกิจก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมของลูกค้าต้องเปิดรับเทคโนโลยี ในอดีตผู้คนไม่คุ้นเคยกับสมาร์ทโฟนและการทำธุรกรรมออนไลน์โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งคิดเป็นฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ COVID-19 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าถึงธุรกรรมดิจิทัลผ่านแคมเปญเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้ประชากรในวงกว้างเปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงคุ้นเคยกับความสะดวกสบายในการอยู่บ้านและดำเนินการธุรกรรมจากระยะไกลได้ทุกที่ทุกเวลา ในระยะยาวอาจส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้าในการชำระเงิน เนื่องจากลูกค้าหลีกเลี่ยงการเข้าใช้บริการที่สาขา ทำให้ยอดขายสินค้าอื่น ๆ ลดลง นอกจากนี้ ในมิติทางสังคม การดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทคือการให้กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน การตรวจสอบและประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นขั้นตอนการป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญ นอกจากนี้ ความปกติใหม่ที่อาจกำหนดพฤติกรรมของลูกค้าที่จะนำมาใช้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีจะทำให้ลูกค้าไม่เต็มใจที่จะมาที่สาขาและผลักดันบริษัทให้เร่งรีบในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อรักษาลูกค้าไว้ นอกจากนี้ การแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่มีแรงกดดันจากหน่วยงานกำกับดูแลและภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา อัตราดอกเบี้ยได้รับผลกระทบอย่างมาก ในแง่ของหน่วยงานกำกับดูแล มีนโยบายหลายประการที่จะลดอัตราเพดานในผลิตภัณฑ์สินเชื่อจำนวนมาก ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงสำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อหลายราย ในทางกลับกัน ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเริ่มลดราคาผลิตภัณฑ์จำนวนมากลงอย่างมากเพื่อแข่งขันกันเอง ในระยะยาว ปรากฏการณ์นี้อาจสร้างความคาดหวังให้ลูกค้าเคยชินกับการรับรู้โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยต่ำ |
|
ความเสี่ยงจากการแข่งขันกับผู้เล่นรายใหม่ นับตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ และใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังส่งผลให้มีผู้ให้บริการทางการเงินขนาดเล็ก ผู้พัฒนา FINTECH รวมถึงสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ และอาจก่อให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งการแข่งขันด้วยเทคโนโลยี การขยายสาขา รวมถึงการขยายผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ไมโครไฟแนนซ์ใหม่ๆหรือแม้แต่การแข่งขันด้านราคาในอนาคตบริษัทฯ ตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงจึงมีการเตรียมตัวและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถรับมือและแข่งขันในอุตสาหกรรมได้อย่างเข้มแข็ง |
|
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศคือกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่คาดการณ์ว่าจะถูกบัญญัติขึ้นในอนาคต เนื่องจากความสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีคาร์บอน เราเล็งเห็นทางการไทยให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการบังคับใช้กฎระเบียบเหล่านี้ในเร็วๆ นี้ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจะรวมถึงการเรียกเก็บภาษีทางตรงและทางอ้อม และเงินอุดหนุนเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
|
Material Issues
ปัจจัย | กระบวนการจัดการ |
---|---|
ด้านการแข่งขันจากคู่แข่งรายเก่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผู้ให้บริการไมโคไฟแนนซ์มาเป็นระยะเวลากว่า 28 ปี ความตึงเครียดของการแข่งขันในอุตสาหกรรมกดดันให้ผู้ประกอบการต้องใช้วิธีการ LEAN โดยควบคุมทั้งด้านต้นทุนและด้านค่าตอบแทนจากรายรับ นอกจากนั้น ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันผลักดันให้คู่แข่งในอุตสาหกรรมแข่งขันกันอย่างดุเดือดมากขึ้นทั้งในด้านของการขยายสาขา การออกโปรโมชั่น การลดอัตราดอกเบี้ยอย่างมีนัยยะสำคัญและการขายสินค้าประกันชีวิตควบคู่กับการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งการแข่งขันเหล่านี้ส่งผลต่อส่วนต่างกำไรและเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการในการรักษาสมดุลของต้นทุนและอัตรารายรับ |
|
ด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีส่วนให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นการคุกคามที่สร้างผลกระทบในทุกภาคส่วนทั้งในด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอุตสาหกรรมการเงิน สถาบันการเงินและผู้ให้ บริการทางด้านการเงินต่าง ๆ ได้รับความเสี่ยง ดังกล่าวเช่นเดียวกัน อันก่อให้เกิดผลกระทบที่มีความรุนแรงสูงขึ้น ทั้งในแง่ของความน่าจะเป็นและขนาดของผลกระทบ ซึ่งอาจมาในรูปแบบที่ เปลี่ยนแปลงไป และยากต่อการป้องกันหรือตรวจจับยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าการปฏิบัติงานและรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ยังเน้นการใช้หลักประกันที่เป็นรูปธรรมและการทำธุรกรรมในรูปแบบของเงินสดเป็นส่วนมาก อย่างไร ก็ตามระบบ ปฏิบัติการหลักที่บริษัทฯ ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลสำคัญของลูกค้า และการจัดการบริหารต่าง ๆนั้น อยู่ในรูปแบบของดิจิทัลจึงมีความเสี่ยงด้านดิจิทัล หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นสำคัญ |
|
ด้านสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนเป็นสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นทั่วโลก และส่งผลกระทบทางลบต่อทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยผลกระทบนั้นทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆในประเทศไทย สภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากการประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย พบว่าอุณหภูมิ เฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น 1.5-2.0 องศาเซลเซียส ภายใน 40 ปีข้างหน้า จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย สำหรับภาคการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง และบริษัทฯซึ่งมีกลุ่มลูกค้าประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับภาค เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงอาจส่งผลทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง อันจะทำให้ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น หากแต่คุณภาพหนี้ลดลง |
|