มิติสิ่งแวดล้อม

เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจที่มีการเติบโตปีละมากกว่า 20% องค์กรได้มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการก าหนดนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในทิศทางเดียวกันสำหรับองค์กร

Realized Climate Change
ตระหนักในผลกระทบที่อาจเกิดจากความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
จัดทำมาตรการในการรับมือเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนตามมาตรฐานสากล
Goals Net Zero
เป้าหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
กำหนดแผนและมาตรการเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
Policy Strategies
นโยบาย กลยุทธ์และกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
กำหนดมาตรการควบคุมปริมาณการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้
Results Resources
ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากร
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกการใช้ทรัพยากร

ความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความตระหนักในผลกระทบที่อาจเกิดจากความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ผลกระทบต่อองค์กร
  • กลุ่มลูกค้าภาคเกษตรกรรม ได้รับผลกระทบในเรื่องของผลผลิต เมื่อรายได้น้อยลง จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพในการชำระหนี้ลดลง
  • เกิดความไม่มั่นใจจากนักลงทุน อาจส่งผลให้เกิดการขาดสภาพคล่อง รวมถึงการหดตัวของผลกำไรและอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับภาษีคาร์บอนในอนาคต
  • กรณีเกิดภัยภิบัติ อาจส่งผลให้พนักงานไม่สามารถมาให้บริการที่สาขาได้ รวมถึงค่าไฟที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
แนวทางการรับมือผลกระทบ
  • ปรับเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อสำหรับช่วงวิกฤตให้เหมาะสม ไม่ละเลยความลำบากของลูกค้า
  • จัดทำนโยบายและมาตรการรับมือ เพื่อแสดงถึงการตระหนักรู ้และเตรียมความพร้อมขององค์กรต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น
  • พัฒนาแอพลิเคชันเมืองไทย 4.0 สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถใช้บริการได้โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา ในกรณีที่สาขาไม่สามารถเปิดให้บริการได้

เป้าหมายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ระยะที่ 1 พ.ศ. 2565 - 2570

“ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากปีฐาน 10% ”

ประกาศนโยบาย ริเริ่มแนวปฏิบัติ กำหนดเป้าหมายระยะสั้นสำหรั บการบริ หารจัดการทรัพยากรเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกำหนดเป็นผลการดำเนินงาน (KPI) ของผู้บริหารและพนักงาน

ระยะที่ 2 พ.ศ. 2571 - 2575

“ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากปีฐาน 40% ”

พัฒนาประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการนำเทคโนโลยีและพลังงานสะอาด ได้แก่ โซลาร์เซลล์ Paper-less รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การหมุนเวียนน้ำและ Zero Waste Project มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเป้าหมายในระยะนี้คือการปล่อยก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง 40%

ระยะที่ 3 พ.ศ. 2576 - 2580

“มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน”

เมื่อประสิทธิภาพของบริษัทฯ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในระดับที่ยอมรับได้แล้ว องค์กรจะมีแผนการกำหนดกิจกรรมหรือโครงการเพิ่มเติม ได้แก่ กิจกรรมปลูกป่า หรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อทดแทนปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในชั้นบรรยากาศ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

กลยุทธ์นโยบาย

นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม

บริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานของกิจการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กร ภูมิภาคและระดับโลก สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนและตั้งเป้าการเป็นองค์กร Net Zero รวมถึงผลักดันให้เห็นความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ขององค์กร

กลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากร
01. เก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากร
02. ใช้ผลิตภัณฑ์สีเขียว
03. ส่งเสริมนวัตกรรม
04. ปฏิบัติตามกฎหมาย
05. ปฏิบัติตามกฎหมาย
06. กำกับดูแลด้าน Climate Change

การใช้ทรัพยากรภายในองค์กร

การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2565 ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับประสิทธิภาพการดำเนินการหรือค่า Productivity ซึ่งสามารถคำนวณได้จากการแปรผกผันของปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าและยอดสินเชื่อคงค้าง(ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ล้านบาท) โดยกำหนดให้ค่า Productivity เติบโตไม่น้อยกว่า10% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า และสำหรับปีถัดไปกำหนดให้ค่า Productivity นี้เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การบริหารจัดการการใช้น้ำมัน

ปัจจุบัน การดำเนินงานภายในบริษัทฯ ยังคงใช้พลังงานจากน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับฐานลูกค้าที่มีการขยายตัวเป็นประจำทุกปี จำนวนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงอย่างนั้น เรายังคงคำนึงถึงผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จึงได้มีการกำหนดมาตรการในการจัดการน้ำมัน ดังนี้

พนักงานสาขาจะถูกตั้งเพดาน เบิกค่าน้ำมันตามความเหมาะสมของการปฏิบัติงาน
ผลักดันนโยบายการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV) ในการปฏิบัติงาน
ผลการดำเนินงาน
การจัดการการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง เทียบกับสินเชื่อคงค้าง 24.17 ลิตร/ลบ.
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก tonCO2e เพิ่มขึ้น 664.20 tonCO2e (จากปี 2564)
ความเข้มข้นของการใช้พลังงาน เท่ากับ GJ/MB

มูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น 19.10% จากปี 2564 ถึง 2565 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

การบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้า

ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจองค์กร จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในเกือบทุกขั้นตอนของกระบวนการปฏิบัติงาน การเติบโตขององค์กร การเพิ่มขึ้นของสาขาทำให้ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น และเกิดมลพิษมากขึ้นอีกด้วย บริษัทฯ จึงได้กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าให้คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด

กำหนดช่วงเวลาการใช้เครื่องปรับอากาศ สำหรับสำนักงานใหญ่ มีการตั้งเวลาเปิด-ปิด เป็นรูปแบบ และมีการมอนิเตอร์เพื่อเปิดใช้เครื่องปรับอากาศตามความเหมาะสม
มีการกำหนดเพดานเบิกค่าไฟของสาขาที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและปริมาณการใช้งาน เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการประหยัดพลังงานให้แก่พนักงาน
กำหนดให้มีการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ
ผลการดำเนินงาน
การจัดการปริมาณการใช้ไฟฟ้า kWh เปรียบเทียบกับสินเชื่อ 348.71 kWh/MB (ตั้งแต่ปี 2564)
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก tonCO2e เพิ่มขึ้น 2,978.08 tonCO2e (จากปี 2564)
ความเข้มข้นของการใช้พลังงาน เท่ากับ GJ/MB

มูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น 13.19% จากปี 2564 เป็น 2565 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

การบริหารจัดการการใช้น้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรหนึ่งที่เป็นปัจจัยพื ้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และการดำเนินธุรกิจ ในปัจจุบันเกิดปัญหาเรื่องของอุทกภัย และบางพื้นที่เกิดภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติด้านทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำผ่านการรณรงค์อนุรักษ์การใช้น้ำและสื่อสารประชาสัมพันธ์ในบุคลากรทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และมีมาตรการ

ตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ หากมีความเสียหายให้ซ่อมแซมให้เสร็จโดยเร็วที่สุด
กำหนดเพดานเบิกค่าน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของแต่ละสาขา
ปลูกฝังและรณรงค์ให้ความรู้แก่พนักงานในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผลการดำเนินงาน
การจัดการการใช้น้ำ ล้านลิตร เปรียบเทียบกับสินเชื่อ 0.007 เมกะลิตร/MB (ตั้งแต่ปี 2564)
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก tonCO2e เพิ่มขึ้น 224.3 tonCO2e (จากปี 2564)

มูลค่าผลผลิตลดลง 30.77 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง GHG Emission Factor สำหรับน้ำจาก 0.2843 เป็น 0.5410

การบริหารจัดการการใช้กระดาษ

การดำเนินงานขององค์กรยังคงใช้กระดาษเป็นหลัก เพื่อให้สามารถรองรับกับการขยายสาขา การเติบโตของธุรกิจกว่า 20% แน่นอนว่าปริมาณการใช้กระดาษจะต้องเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามองค์กรมีมาตรการในการลด และควบคุมปริมาณการใช้กระดาษเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอ้อมน้อยที่สุดโดยบริษัท ฯ มีมาตรการ

สำหรับสำนักงานใหญ่มีโครงการส่งเสริมให้บุคลากรใช้กระดาษทั้งสองด้าน โดยมีศูนย์รวบรวมกระดาษหน้าเดียวสำหรับทุกแผนก
พัฒนาระบบใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt) ตามระเบียบและแนวปฏิบัติทางกฎหมาย
ใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทน
ผลการดำเนินงาน
การจัดการการใช้กระดาษ Kg เทียบกับสินเชื่อ 6.29 Kg/MB
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก tonCO2e เพิ่มขึ้น 80.31 tonCO2e (จากปี 2564)

มูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น 9.53% จากปี 2564 ถึง 2565 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้