มิติเศรษฐกิจ
ปฏิบัติตามหลักพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล จัดการความเสี่ยงอย่างครอบคลุมรอบด้าน ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างคุณค่าเพิ่มแก่ธุรกิจในระยะยาว
Good Corporate Governance
Effective Risk Management
Take Care Stakeholders
Develop Innovation
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ จัดการให้มีโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการธุรกิจที่ดีและมีความสัมพันธ์กันระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ ผู้ถือหุ้น และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ บนพื้นฐานการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในความถูกต้อง การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส รับผิดชอบต่อบทบาท หน้าที่รับผิดและรับชอบในผลการปฏิบัติงาน ซึ่งการกำกับดูแลกิจการที่ดี สามารถเพิ่มมูลค่าของกิจการ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างคุณค่าร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสียและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ความซื่อสัตย์
ความยุติธรรม
ความโปร่งใส
ความรับผิดชอบ
ภาระรับผิดชอบ

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ
ประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการให้ทำหน้าที่แทนตนและมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัทฯ คณะกรรมการเป็นตัวแทนของผู่ถือหุ้นในการกำหนดทิศทางขององค์กร แต่งตั้งและกำกับดูแลฝ่ายจัดการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถและจรรยาบรรณ ในการนำบริษัทฯ และตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ
โครงสร้างองค์กร
การจัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแนวปฏิบัต
ในปี 2565 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการทบทวนปรับปรุงนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงแผนงานด้านความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 หรือ Corporate Governance Code (CG Code) โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกอบด้วย
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร
บริษัท เมืองไทยแคปปิตอล จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่องค์กรระดับโลก โดยกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับแนวทางและหลักปฏิบัติสากล ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคงในระยะยาว
ความสำคัญ การบริหารจัดการความเสี่ยง
สร้างฐานความรู้ที่มี ประโยชน์ต่อการบริหาร และการปฏิบัติงาน
ความสำคัญ การบริหารจัดการความเสี่ยง สะท้อนให้เห็นภาพรวม ของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญ
ความสำคัญ การบริหารจัดการความเสี่ยง สะท้อนให้เห็นภาพรวม ของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญ
ให้การพัฒนาองค์กร เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย
การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียส่งผลให้บริษัทฯ ทราบถึงความคาดหวัง ความต้องการ ซึ่งมีส่วนช่วยให้บริษัทฯ สามารถกำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งสู่การขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนทราบถึงผลกระทบที่บริษัทมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ แบ่งผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่
The importance of risk management
ลูกค้า
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และเจ้าหนี้
พนักงาน ผู้บริหาร และคณะกรรมการ
คู่ค้า
คู่แข่งทางธุรกิจ
ชุมชนและสังคม
หน่วยงานกำกับ
ในการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทได้พิจารณาห่วงโซ่คุณค่าที่ประกอบด้วยกิจกรรมพื้นฐาน เช่น การกำเนิดสินเชื่อ การจัดการลูกค้า และการติดตามหนี้ และกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ เช่น การขยายสาขา การรู้จักลูกค้า (KYC) การตั้งค่าอัตราดอกเบี้ยและ LTV การปฏิบัติด้านการตลาด การติดตามลูกค้า การเพิ่มการรักษาลูกค้า การประมูลทรัพย์สิน บริษัทได้กำหนดแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ของบริษัทในส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ http://investor.muangthaicap.com
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็ว
- วงเงินที่ได้รับอนุมัติเหมาะสม
- มีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ย /ค่าธรรมเนียม
- การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย
- คำนึงถึง ESG ตลอดกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ
- ขยายสาขาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการให้บริการ
- สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าด้วยบริการที่เป็นเลิศ ทั่วถึง และเท่าเทียม
- เคารพต่อความพึงพอใจ สิทธิ และข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย :
- ผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
- การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เป็นองค์กรที่มีความมั่นคง โปร่งใส และเติบโตอย่างยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย
- ทบทวนและปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับสภาวการณ์
- มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย :
- สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
- ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม
- ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน
- มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล
แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย
- ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง
- ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน
- การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย :
- มีความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
- ความต่อเนื่องของการดำเนินการ
- เกณฑ์การประเมินและคัดเลือกที่ได้มาตรฐาน
- กำหนดระยะเวลาชำระเงินแก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม
แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย
- บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ ESG
- กำหนดระยะเวลาชำระเงินแก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย :
- แข่งขันอย่างเป็นธรรม
- การยกระดับอุตสาหกรรมร่วมกัน
- การให้ความร่วมมือกับสมาคมสินเชื่อทะเบียนรถ/ส่วนบุคคลในการปฏิบัติตามเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับ
แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย
- ให้ความร่วมมือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบสินเชื่อทะเบียนรถ เพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมร่วมกัน
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย :
- แสดงความรับผิดชอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน
- พิจารณาผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย
- สร้าง Engagement ระหว่างบริษัทฯ กับชุมชน ผ่านโครงการ CSR
- ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย :
- สนับสนุนนโยบายและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม
- การบริหารจัดการที่โปร่งใส
- ปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับที่กำหนด
แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย
- ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับอยู่เสมอ
การดำเนินการด้านภาษี
เพื่อสะท้อนถึงคุณค่าและหลักปฏิบัติที่ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบาด้านภาษีให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการ และเชื่อว่าการปฏิบัติตามนโยบายด้านภาษีอย่างเคร่งครัดจะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้
จรรยาบรรณด้านภาษี
จัดให้มีระบบภาษีและการปฏิบัติงานด้านภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ชำระภาษีอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับมูลค่าการดำเนินงาน
กำหนดให้ใช้หลักการเปรียบเทียบราคาโอนกับราคาซื้อขายโดยสุจริต
ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
มีการติดต่อกับหน่วยงานกำกับดูแลภาษีของรัฐบาลอย่างเปิดเผย

การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภาษี
เพื่อให้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบการควบคุมด้านภาษี (Tax Control Framework) โดยยึดถือตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงซึ่งสอดคล้องกับหลักการที่ยอมรับในระดับสากล (Best Practice) โดยมีการกำกับดูแลและควบคุมความเสี่ยงด้านภาษีอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นที่ระบบควบคุมการบันทึกข้อมูลทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการภาษีทุกประเภท
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านภาษีเช่นเดียวกับความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ผ่านโครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยง และคณะกรรมการตรวจสอบมีการสอบทานการบริหารความเสี่ยงด้านภาษีอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
นโยบายด้านการจัดการภาษี