บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัทฯ”) ก่อตั้งโดยนายชูชาติ เพ็ชรอำไพ และนางดาวนภา เพชรอำไพ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2535 ปัจจุบัน บริษัทฯ จัดเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank Financial Institution) ดำเนินธุรกิจการให้บริการสินเชื่อทะเบียนรถด้วยใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยแก่ลูกค้ารายย่อย (Microfinance) เป็นหลัก ซึ่งยานพาหนะที่สามารถนำมาใช้เป็นประกันได้นั้น ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถกระบะ และรถเพื่อการเกษตร ที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังขยายการให้บริการสินเชื่อครอบคลุมไปยังสินเชื่อที่ใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรเป็นประกัน และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินเชื่อของลูกค้าได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนขายประกันภัยประเภท พ.ร.บ. ประกันภัย (Compulsory Third Party Insurance) และประกันอุบัติเหตุให้แก่ลูกค้า และประชาชนทั่วไปอีกด้วย
ในปี 2562 บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต่อยอดสำหรับกลุ่มลูกค้าสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์เดิมของบริษัทฯ ซึ่งมีจำนวนลูกค้ากว่า 1.5 ล้านราย คณะกรรมการบริษัทฯ จึงมีมติจัดตั้ง บริษัทย่อยคือ บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2562 ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว จำนวน 20 ล้านบาท ทำให้บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นบริษัทย่อยโดยตรงจำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท เมืองไทย อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ มีลักษณะการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายประภันภัยประเภทประกันวินาศภัย และบริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ คือการเป็นบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อขนาดเล็กแก่ลูกค้ารายย่อยด้วยความรับผิดชอบ อันเป็นเป้าหมายที่บริษัทฯเชื่อว่าจะนำพาบริษัทฯ ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวได้สะท้อนออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์สินเชื่อและการให้บริการ (CSR-in process)
ผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการ
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

สินเชื่อโฉนดที่ดิน

สินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ

สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่

สินเชื่อเพย์ เลเทอร์

บริษัทฯ มุ่งเน้นการเติบโตด้วยการขยายฐานลูกค้าผ่านการขยายสาขาเพื่อให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ในประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยพัฒนาการเข้าถึงทางการเงิน (Financial Inclusion) ให้แก่ประชาชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนทางเลือกได้ด้วยต้นทุนทางการเงินที่เป็นธรรมและโปร่งใส ทั้งนี้บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าการกระจายการเข้าถึงทางการเงินให้แก่ประชาชนเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินในประเทศซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

สรุปข้อมูลสาขาต่อประชากรในพื้นที่ในปี 2565
รวม 6,668 สาขา, 66 ล้านคน
ณ ไตรมาส 1 ปี 2566